หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

-RAP BATTLE-

Rap Is Now | บทสัมภาษณ์ 6 ผู้อยู่เบื้องหลัง rap battle ไทยที่มาแรงที่สุดใน พ.ศ. นี้


กิจกรรมรูปแบบหนึ่งที่ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับวัฒนธรรม HIP HOP และกลายเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมดังกล่าวโดยมีการ RAP เป็นหัวใจหลักนั่นก็คือ "RAP BATTLE" ซึ่งการ RAP ในกิจกรรมชนิดนี้แตกต่างจากการเล่าเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อออกมาคลอไปกับดนตรีตามที่ได้ยินกันทั่วไป โดยกติกาทั่วไปคือ ผู้เข้าแข่งขันสองคน ต้องออกมาเจอทักษะ ไอเดีย และสไตล์ของตัวเอง ด้วยการผลัดกัน RAP ใส่กันอย่างดุเดือด มักแบ่งออกเป็น 3 ยกบ้างตัดสินแพ้ชนะกันที่เสียงเชียร์ของคนดูว่าใครจะทำให้คนดูส่งเสียงได้ดังกว่ากัน บ้างก็มีกรรมการให้คะแนนร่วมด้วย เมื่อได้รับความนิยมมากขึ้นก็มีการแข่งขัน RAP BATTLE เป็นลีกในที่ต่างๆ โดยเฉพาะที่อเมริกาและยุโรป จนกระทั่งวันหนึ่งมีการแข่งขันประเภทนี้ขึ้นในประเทศไทยอย่างจริงจัง และเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ด้วยทีมที่มีชื่อว่า"RAP IS NOW"ซึ่งพวกเขาไม่ใช่องค์กรใหญ่เงินทุนหนา แต่เพียงเป็นเพื่อนสนิทกัน 6 คนที่มีความหลงใหลHIP HOPและRAP BATTLEเหมือนๆกัน หลังจากที่คนหนุ่มสามกลุ่มดังกล่าวเสร็จสิ้นภารกิจจัดการแข่งขันรายการล่าสุดอย่าง"THE WAR IS ON"ไป เราจึงชวนพวกเขามาพูดคุยกันเพื่อทำความรู้จักและเจาะลึกถึงที่มาที่ไปของโปรเจ็คนี้ 


ทีมงานแต่ละคนทำอาชีพอะไรและมีหน้าที่อะไรในทีม Rap Is Now บ้าง
โจ้ ศวิชญ์ สุวรรณกุล aka PHENOMENYX – ผมเป็นอาร์ต ไดเร็กเตอร์ในค่ายเพลงครับ ก็เลยรู้เรื่อง corporate design ครับ สามารถดูเรื่องภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ และด้วยการที่ทำงานในค่ายเพลงเลยรู้ direction บางอย่างที่น่าสนใจและนำมาปรับใช้กับเราครับ หลุยส์ ธชา คงคาเขตร aka LiskStryx – ผมทำโปรดักชั่นโฆษณาจำพวก TVC อยู่ครับ ทำให้รู้ว่าถ้าจะถ่ายทำรายการ ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง กี่ตัว มีไฟ มีไมค์อะไรบ้าง รวมไปถึงการตัดต่อวิดิโออะไรพวกนี้ ก็เลยช่วยเรื่องนี้ได้ ต้าร์ สักกพิช มากคุณ aka ARTISTRYX – ผมทำงานเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับเอเจนซี่แห่งหนึ่งครับ มีความรู้เรื่องการจัดการและ online marketing และผมทำกราฟิก ดีไซน์ได้ ก็มาช่วยงานตรงนี้ด้วยครับ ด้อด ปวิตรี ประวิตร สวนสัน aka dDimple – ปกติทำงานเป็นอีเวนท์ออร์แกไนเซอร์อยู่แล้วค่ะ อย่างเวลาทำรายการสดก็จะคอยดูคิวงานให้ เอ็ม จีรังกูล เกตุทอง aka Nazesus – rapper ประจำทีม เป็นภาพลักษณ์สำคัญของทีม และช่วยเขียน content ลงในเว็บไซต์ ฟลุ๊ค พลกฤต ศรีสมุทร aka FLUKERALWAYSON – ทำบริษัทเอเจนซี่และโปรดักชั่นเฮาส์ของตัวเอง เป็นที่ปรึกษาและคอยวางแผนงานภาพรวม และควบคุมคุณภาพครับ




ที่มา http://www.sneakavilla.net/sneakavilla-interview-rap-is-now/

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

HIP-HOP THAI HISTORY



Hip-hop Thai History

ในประเทศไทย เพลงแร็ปได้ปรากฏเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2534ในอัลบั้ม จ เ-ะ บ ของ เจตริน วรรธนะสิน ในสังกัดแกรมมี่ กับ ทัช ธันเดอร์ ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ในสังกัดอาร์เอส โดยในเวลานั้นทั้งคู่เสมือนเป็นคู่แข่งกัน แต่ว่าดนตรีของทั้งคู่ในเวลานั้นยังไม่ใช่แร็ปเต็มตัว เพียงแต่แฝงเข้าไปในทำนองเพลงป็อปแด๊นซ์เท่านั้นเอง จนกระทั่ง เจ เจตรินได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 คือ 108-1009 มาในปี พ.ศ. 2536 มีหลายเพลงในอัลบั้มที่เป็นแร็ปมากขึ้น โดยเฉพาะในเพลง ยุ่งน่า, สมน้ำหน้า นับเป็นแร็ปเต็มตัว และในเพลง ประมาณนี้หรือเปล่า ก็มีบางช่วงที่เป็นแร็ป แต่หลังจากนี้ เจตรินก็ไม่ได้ทำเพลงในลักษณะแร็ปออกมาอีกเลย จนกระทั่งอัลบั้มชุดใหม่ Seventh Heaven ในปลายปี พ.ศ. 2550 กับเพลง สวรรค์ชั้น 7
แร็พเตอร์ก็น่าจะถือเป็นศิลปินเพลงในแนวฮิปฮอปด้วยเพราะก็มีหลายเพลงที่มีRapมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ2อัลบั้มแรก เช่น Raptor (พ.ศ. 2537) อัลบั้มแรกของทั้งคู่ แนวเพลงเป็นแนว Pop และผสมกับแนว Rap ซึ่งจะนำเพลงดังในยุคนั้นของ RS มาทำใหม่และเพิ่มเติม เนื้อเพลงในส่วนที่เป็นท่อน Rap เช่นเพลง SuperHero และอัลบั้ม Waab Boys (พ.ศ. 2539) อัลบั้มที่สอง แนวเพลงจะแปลกไปจากชุดก่อนเพราะจะเป็นแนว Pop-Dance มากยิ่งขึ้น แต่ในเพลงก็ยังมีท่อน Rap มาผสมอยู่บ้าง เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ "อย่าพูดเลย"
แต่ว่า ศิลปินไทยที่นับว่าเป็นแร็ปเปอร์กลุ่มแรกจริง ๆ คือ ทีเคโอ ในปี พ.ศ. 2536 สังกัดคีตา เรคคอร์ดส โปรดิวซ์โดย กมล สุโกศล แคลปป์ แต่ว่ากลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากอาจเพราะกระแสดนตรีไทยในเวลานั้นยังไม่อาจรับได้กับเพลงในลักษณะนี้
แร็ป มาประสบความสำเร็จครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2538 เมื่อ โจอี้ บอย สังกัดเบเกอรี่ มิวสิก ได้ออกอัลบั้ม โจอี้ บอย เป็นชุดแรก ซึ่งเป็นแร็ปแท้ทั้งอัลบั้ม โดยในช่วงเวลานั้นกระแสการฟังดนตรีในเมืองไทยได้เปลี่ยนไปจากแนวดนตรีกระแสหลักไปสู่แนวอิสระมากขึ้น จึงทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมขึ้นมาด้วย
ในปี พ.ศ. 2544 แกรมมี่ ก็ได้มีศิลปินแร็ปออกมาอีกหนึ่งชุดและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คือ ดาจิม
เพลงแร็ปในประเทศไทยมักจะมีคำไม่สุภาพหรือหยาบโลนเหมือนอย่างศิลปินในต่างประเทศ เช่น ไทยเทเนี่ยม โจอี้ บอย และ ดาจิม (ในช่วงเป็นศิลปินใต้ดิน)

อนึ่ง ซึ่งความจริงแล้ว เพลงที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นเพลงแร็ปเพลงแรกของประเทศไทย มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นเพลงหนึ่งจากอัลบั้มแดนศิวิไลซ์ ผลงานของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ชื่อเพลง เบื่อคนบ่น